วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ จังหวัดตราด


















ตราด สถานที่ท่องเที่ยว ทางเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในตราด , ประเทศไทย 
จังหวัดตราดมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงมากมายและหลากหลายรูปแบบทั้งในด้านของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตโดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเช่นเกาะช้าง , เกาะกูด , เกาะหมาก , ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองท่องเที่ยวเชิงเกษตรห้วงน้ำขาวแหลมศอกโบราณสถานจวนเรสิดังกัมปอร์ตแหลมงอบอนุสรณ์สถานยุทธนาวีที่เกาะช้างหาดบานชื่นหาดทรายแก้ว ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวในตราดศิลปะวัฒนธรรมและแหล่งมรดก


สถานแนะนำที่ท่องเที่ยวตราดในจังหวัด


หมู่เกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียงอีก 47 เกาะโดยมีเกาะช้างซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ตมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจหลายแห่งนอกจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้งน้ำตกและหาดทรายแล้วยัง มีวิถีชิวิตชาวบ้านซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ที่น่าสนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่งเนื่องด้วยระยะทางที่ไม่ไกลจนเกินไป และสภาพอากาศที่สามารถเดินทางไปเที่ยวเกือบตลอดทั้งปีหมู่เกาะช้างจึงเป็นอีกแห่งหนึ่งที่ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ นิยมมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอาณาบริเวณหมู่เกาะช้าง

















บริเวณยุทธนาวีเกาะช้าง จุดที่เกิดยุทธนาวีนี้อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้าง ใกล้อ่าวสลักเพชรเป็นบริเวณที่เกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนทางด้านตะวันออกเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2484 โดยฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ ล่าถอยไปได้ แต่ต้องสูญเสียเรือรบหลวง 3 ลำคือเรือรบหลวงสงขลาเรือรบหลวงชลบุรีและเรือรบหลวงธนบุรีและทหารอีกจำนวนหนึ่งทุกปีในวันที่ 17 มกราคมกองทัพเรือจึงถือเป็นวันทำบุญประจำปีเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ทหาร เรือไทยที่ได้สละชีวิตในการปฎิบัติหน้าที่เพื่อปกป้องแผ่นดินไทย









น้ำตกธารมะยม ต้นน้ำเกิดจากอ่าวคลองมะยมอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 500 เมตรโดยเดินผ่านสวนทุเรียนเข้าไปน้ำตกธารมะยมเป็นน้ำตกขนาดกลางมี 3 ชั้นลักษณะเป็นธารน้ำไหลผ่านลงมาเป็นชั้น ๆ ตามร่องหินแกรนิตสีดำมีหน้าผาสูง ชันจนเกือบตั้งฉากบริเวณโดยรอบเป็นป่าดิบชื้น อากาศร่มเย็นสบายมีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จประพาสปรากฏพระนามาภิไธยอยู่ที่แผ่นผาหินของน้ำตกนี้อาทิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2456 ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2465 ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2470) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในราชกาลที่ 7 ( พ.ศ. 2516)











น้ำตกคลองพลูเป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่มี 3 ชั้นทางเข้าน้ำตกอยู่ห่างจากชุมชนอ่าวคลองพร้าวประมาณ 3 กิโลเมตรแล้วต้องเดินป่าอีก 20 นาที
น้ำตกคลองนนทรีอยู่ห่างจากบ้านด่านใหม่ตามทางเดินเท้า 3 กิโลเมตรหรือจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นน้ำตกขนาดเล็ก
น้ำตกคีรีเพชรเป็นน้ำตกชั้นเดียวอยู่ห่างหมู่บ้านสลักเพชรผ่านสวนยางเป็นระยะทางประมาณกิโลเมตร 3
น้ำตกคลองหนึ่งเป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ลึกเข้าไปยังชุมชนสลักเพชรใกล้น้ำตกคีรีเพชร
บ้านคลองบางเป้า เป็นหมู่บ้านประมงที่น่าสนใจบ้านพักอาศัยปลูกโดยปักเสาลงในทะเลมีสะพานเชื่อมติดต่อถึงกันโดยตลอดชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพประมงดักหมึกมีบังกะโลที่พักและแหล่งปะการังใต้น้ำ













บ้านสลักเพชรหรือบ้านโรงถ่านเป็นชุมชนใหญ่ที่สุดบนเกาะช้างอยู่ทางทิศใต้ของเกาะช้างรอบอ่าวสลักเพชรซึ่งเป็นอ่าวใหญ่ที่สุดเป็นท่าเทียบเรือหลายแห่งมีบังกะโลและร้านอาหารเล็ก ๆ สลับกันไป
บ้านสลักคอกอยู่ติดกับบ้านสลักเพชรลักษณะเป็นช่องแคบ ๆ เข้าไปในตัวเกาะด้านติดทะเลเป็นช่องแคบ ๆ ภายในเป็นเวิ้งกว้างใช้เป็นที่หลบลมของเรือประมงได้เป็นอย่างดี แต่ไม่มีหาดทรายสำหรับเล่นน้ำเป็นที่ตั้งชุมชนมี หมู่บ้านและเป็นหมู่บ้านใหญ่อีกหมู่บ้านหนึ่งที่มีอาชีพประมงนอกจากนี้ยังมีการทำนากุ้งบ้านสลักคอกมีท่าเทียบเรือ 1 แห่งสำหรับผู้สนใจที่จะศึกษาชีวิตชาวประมงบ้านสลักคอกเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่น่าสนใจในวิถี ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเลแห่งเกาะช้างมีวัดอยู่ 1 วัดและท่าเทียบเรือ 1 แห่ง
ท่าธารมะยม ท่าธารมะยมเป็นท่าเรือเก่าแก่อยู่ห่างจากท่าเรือแหลมงอบเพียงนั่งเรือ 45 นาทีเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ มีบ้านพัก 2 หลังสามารถกางเต็นท์บริเวณนี้นอกจากจะใกล้น้ำตกธารมะยมแล้วยังสามารถเล่นน้ำที่ชายหาดได้ ในฤดูผลไม้เดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปีที่ท่าธารมะยมจะเป็นจุดที่ขนถ่ายผลไม้ลงเรือไปส่งที่ฝั่งจากท่าธารมะยมมีถนนข้ามไปได้ทั้งทางด้านใต้และด้านเหนือของเกาะ
ท่าด่านใหม่ ท่าด่านใหม่อยู่ถัดจากท่าเรือธารมะยมไปทางเหนือมีเรือเมล์วิ่งมาที่นี่เช่นกันถ้านักท่องเที่ยวจะเดินทางมายังท่าเรือด่านใหม่สามารถจะเดินทางมาได้โดยลงเรือโดยสารที่ท่าเรือแหลมงอบเรือมีมายัง ท่าด่านใหม่มีวันละเที่ยวเดียวคือ 13.00 นเพียงนั่งเรือ 40 นาทีท่าด่านใหม่เป็นท่าเรือเล็ก ๆ และเป็นย่านชุมชนซึ่งหนาแน่นกว่าบ้านด่านเก่าแถมยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้เช่นเงาะทุเรียนมังคุด ฯลฯ วิถีชีวิตชาว บ้านส่วนใหญ่จะทำสวนผลไม้และประมงโดยเฉพาะกระชังเลี้ยงปลาเก๋าทะเลจะมีให้เห็นตลอดแนวชาวฝั่งท่านี้อาจจะไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำเพราะเป็นหาดหิน
ท่าเรือด่านเก่า อยู่ถัดขึ้นไปจากท่าเรือด่านใหม่ชายหาดไม่เหมาะจะลงเล่นน้ำ แต่เหมาะสำหรับตกปลาเพราะเป็นหาดดินด้านหลังชุมชนบ้านด่านเก่าจะมีแหล่งน้ำจืดของเกาะด่านเก่ามักจะเป็นจุดผ่านไปยังหาด อื่นไป ๆ ต่อ
อ่าวสับปะรด ท่าเรืออ่าวสับปะรดอยู่ถัดจากท่าด่านเก่าไปหนึ่งท่าเป็นท่าเรือเมล์และเรือเฟอร์รี่ที่มีจุดเริ่มต้นจากอ่าวธรรมชาติและแหลมงอบจังหวัดตราดเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่เกาะช้างอ่าวสับปะรดเป็นชายหาดหินไม่สามารถลงเล่น น้ำได้และประการสำคัญเป็นท่าเรือน้ำลึกมีเรือเฟอร์รี่เรือเมล์และเรือประมงเข้าเทียบท่าอยู่เป็นประจำลักษณะคล้ายท่าเรือหน้าทอนของเกาะสมุย แต่มีขนาดเล็กกว่ามากบริเวณท่าเรือมีรถโดยสารลักษณะเป็นรถสองแถวจอดรับส่งนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปส่งยังรีสอร์ทและที่พักต่างๆโดยจุดเริ่มต้นที่ท่าเรืออ่าวสับปะรดไปสิ้นสุดยังหาดไก่แบ้ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตรโดยนักท่องเที่ยวจะลงตามรีสอร์ทใดก็ได้โดยแจ้งให้คนขับทราบชื่อรีสอร์ทที่จะลงหรือจะตกลง เช่าเหมาคันให้พาเที่ยวรอบ ๆ เกาะช้างก็ได้บริเวณท่าเรืออ่าวสับปะรดมีร้านอาหารจำหน่ายในราคาถูกนักท่องเที่ยวสามารถหารับประทานได้
อ่าวคลองสน อยู่ทางเหนือของเกาะช้างห่างจากที่ทำการ 11 กิโลเมตรเป็นอ่าวขนาดใหญ่มีหาดทรายขาวละเอียดทอดขนาดไปกับป่าสนเขียวครึ้มนักท่องเที่ยวเดินทางไปถึงบริเวณนี้ได้โดยทางเรือเมล์และเรือเฟอร์รี่โดยลงที่อ่าวสับปะรดและ นั่งรถสองแถวต่อใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษอ่าวคลองสนอยู่ทางตอนเหนือสุดของเกาะที่นี่ยังคงรูปแบบของชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านที่ทำสวนมะพร้าวอ่าวคลองสนมีชายหาดอยู่ถึงสองด้านเป็นอ่าวที่มี ปะการังและหากน้ำลงจะปรากฏหาดทรายขาวสะอาดกว้างยาวและมีความปลอดภัยในการเล่นน้ำสูงเพราะหาดจะค่อยๆไล่ระดับความลึกข้อเด่นของคลองสนคือชายหาดกว้างยาวสวยงามปลอดภัยแก่การเล่นน้ำมีความเป็นส่วนตัวผู้ คนไม่พลุกพล่านและตัวหาดยาวถึง 400 เมตร
หาดทรายขาวอยู่ด้านหลังเกาะช้างเลยอ่าวคลองสนมาหาดทรายขาวเป็นชายหาดยาวขาวสะอาดจึงได้ชื่อว่าหาดทรายขาวที่พักบนหาดทรายขาวส่วนใหญ่จะเป็นที่พักราคาประหยัดหาดทรายขาวยังมีถนนราดยางอย่างดีขนานยาวไปกับชายหาด เชื่อมถึงหาดอื่น ๆ ยามค่ำคืนปรากฏสีแสงของร้านอาหารร้านเหล้าผับเล็ก ๆ ชายหาดเล่นน้ำได้ตลอดแนว แต่ควรระมัดระวังในการเล่นน้ำอย่าออกไปห่างจากชายหาดมากนักเพราะหาดจะค่อยๆไล่ระดับความลึกตื้นลงไป ไม่เท่ากันควรสวมชูชีพเมื่อต้องการออกไปเล่นน้ำไกลจากชายหาดนอกจากการเล่นน้ำแล้วนักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ขี่เล่นได้หาดทรายขาวเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่งบนเกาะช้าง
หาดคลองพร้าว แหลมไชยเชษฐ์หาดคลองพร้าวอยู่ถัดจากหาดทรายขาวมาและห่างจากท่าเรืออ่าวสับปะรดมาประมาณ 12 กิโลเมตรซึ่งเป็นหาดที่ยาวมากไปจนติดหาดไก่แบ้ข้อเด่นของหาดนี้เป็นหาดที่มี ความลาดมากเล่นน้ำได้ดีสามารถทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาริมหาดได้นอกจากนั้นทางตอนเหนือสุดของเกาะเป็นที่ตั้งของแหลมไชยเชษฐ์ซึ่งเป็นแหลมหินแปลกตาเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากหาดคลอง พร้าวเล่นน้ำได้ แต่แหลมหินไชยเชษฐ์ไม่เหมาะลงเล่นน้ำเพราะหินเยอะ แต่เหมาะกับการตกปลา
หาดไก่แบ้ หาดไก่แบ้เป็นหาดที่ยาวต่อมาจากหาดคลองพร้าวห่างจากท่าเรืออ่าวสับปะรดมาประมาณ 15 กิโลเมตรเป็นหาดยอดนิยมหาดหนึ่งของนักท่องเที่ยวต่างชาติบังกะโลที่พักสร้างติดๆกันเป็นแนวยาวหาดไก่แบ้เป็นหาดที่มี ความลาดพอดีจึงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัยส่วนที่พักมีทั้งแบบราคาประหยัดจนไปถึงบ้านพักอย่างดีหากเลือกพักที่ไก่แบ้จะสะดวกเรื่องเลือกที่พักได้หลายระดับราคาเล่นน้ำที่ชายหาดได้เท่าที่ต้องการจะเล่นหรือเช่าจักรยาน ขี่ไปเที่ยวหาดอื่น ๆ ที่อยู่ติดกันเช่นหาดคลองพร้าวหาดทรายขาวหาดไก่แบ้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากในช่วงเวลาน้ำทะเลลงมากสามารถจะเดินข้ามไปยังหาดมันได้ระยะทางเพียง 500 เมตรนอกจากการ เล่นน้ำแล้วตามรีสอร์ทต่างๆยังมีบริการพาไปดำน้ำที่เกาะหยวกเกาะมันนอกมันในซึ่งอยู่ไม่ไกลจากหากไก่แบ้อีกด้วย
หาดทรายยาว หาดทรายยาวอยู่เลยสลักเพชรไปเป็นหาดทรายที่ยาวสมชื่อเวลาน้ำลงแทบจะตั้งทีมฟุตบอลเล่นกันได้เป็นชายหาดที่มีความปลอดภัยในการเล่นน้ำด้านขวามือของหาดตรงบริเวณภูเขาเป็นแหล่งปะการังน้ำ ตื้นที่สวยงามการที่จะไปเที่ยวหาดทรายยาวได้ต้องนั่งเรือไปเพียงอย่างเดียวเพราะเหตุว่าตัวหาดนี้ตั้งอยู่ในที่ ๆ พื้นที่โดยรอบเป็นสวนมะพร้าวและป่าเกาะหมากเป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างเกาะช้างกับ เกาะกูดพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าวมีถนนลูกรังบนเกาะมีหาดทรายและอ่าวสวยงามหลายแห่งสามารถหาบ้านพักและบังกะโลบนเกาะได้ช่วงที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนเมษายนหมู่เกาะหมากประกอบไปด้วย 9 คือ เกาะเกาะหมากเกาะระยั้งในเกาะระยั้งนอกเกาะผีเกาะขามเกาะกระดาษเกาะนกเกาะนอกและเกาะในกิจกรรมหลักของนักท่องเที่ยวบนเกาะช้างเช่นการเดินป่าเล่นน้ำตกตกปลาพายเรือคยัตดำน้ำดูปะการังขี่ จักรยาน / มอเตอร์ไซด์ชมหิ่งห้อยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร ( ชมสวน ) เป็นต้น


































การเดินทางไปเที่ยวเกาะช้าง ที่อำเภอแหลมงอบ มีท่าเรือที่สามารถโดยสารไปยังเกาะช้าง ทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่



ท่าเทียบเรือแหลมงอบ เรือโดยสารที่ใช้เป็นเรือประมงดัดแปลง ไปขึ้นที่ เกาะช้าง ที่บริเวณบ้านด่านเก่า ค่าเรือโดยสาร 50 บาท ใช้เวลาประมาณ 45 นาที มีเรือออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. เรือกลับจากเกาะช้างมีหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-16.00 น. นอกจากนั้นที่บริเวณท่าเรือยังมีตัวแทนรับจองห้องพักของรีสอร์ทต่างๆ ตั้งอยู่ และนักท่องเที่ยวสามารถหาเรือเช่า (เรือประมงดัดแปลงขนาดเล็กจุได้ประมาณ 10 คน) สามารถไปเกาะช้าง และเกาะอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงในอัตราวันละประมาณ 3,500-5,000 บาท หรือสามารถติดต่อ คุณแสงจันทร์ สิงหพันธุ์ ห้องอาหารแสงจันทร์ 99/3 หมู่ 1 ชายทะเลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด โทร. 0 3959 7197, 0 3959 7299



ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยท์เฟอร์รี่ มีเรือเฟอร์รี่ออกทุกวัน จากท่าเรือแหลมงอบไปขึ้นที่ท่าเรือด่านเก่า ที่เกาะช้าง จากท่าเรือแหลมงอบอยู่ห่างลงมาทางใต้ประมาณ 500 เมตร อัตราค่าโดยสารไปกลับราคาคนละ 120 บาท รถยนต์ 4 ล้อ ไปกลับ ฟรี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที มีเรือออก เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 06.00–19.00 น. เที่ยวกลับ เวลา 06.00–19.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3953 8196



ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ไปขึ้นที่เกาะช้างที่ท่าเรือเกาะช้างเฟอร์รี่บริเวณอ่าวสับปะรด มีบริการเรือเฟอร์รี่ข้ามไปเกาะช้าง ค่าบริการสำหรับรถยนต์ 4 ล้อ พร้อมคนขับข้ามแบบไปเกาะช้างต้องเสียค่าใช้จ่ายคันละ 150 บาท และสำหรับนักท่องเที่ยวราคาคนละ 60 บาท ใช้เวลาในการเดินทาง 45 นาที มีเรือออกทุกๆ 30 นาที เที่ยวไป ตั้งแต่เวลา 07.00–19.00 น. เที่ยวกลับ 07.00–18.00 น. เฟอร์รี่เกาะช้างสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 3959 7143, 0 3959 7434, 0 3952 1661 (เบอร์โทรที่ฝั่งอ่าวสับปะรด) เกาะช้างเฟอร์รี โทร. 0 3952 8288-9


การเดินทางบนเกาะ จากท่าเรือมีรถสองแถวไปยังหาดทรายขาว คลองพร้าว ไก่แบ้ อัตราค่ารถ 30 บาท ส่วนหาดอื่นๆ ต้องเหมา และตกลงราคาก่อนเดินทาง


หมายเหตุ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบุคคลผ่านเข้าไปในเขตอุทยานฯ โดยจะตั้งบู๊ทบริเวณท่าเรือเฟอร์รี่ทั้ง 3 แห่งบนฝั่งอำเภอแหลมงอบ โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยคนละ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักท่องเที่ยวต่างประเทศคนละ 200 บาท เด็ก 100 บาท สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานมีบริการบ้านพักรายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th/










เกาะกูด

เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราด 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 65,625 ไร่ โดยมีขนาดความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร และขนาดความกว้าง 12 กิโลเมตร


ลักษณะโดยทั่วไปของเกาะยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขา และที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิด ลำธาร สายน้ำ ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกหลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อบนเกาะกูด คือ น้ำตกคลองเจ้า จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีทั้งหมด 3 ชั้น โดยชั้นบนจะมีลักษณะเป็นลำธาร ส่วนชั้นล่างเป็นลำธารจากน้ำตกขนาดใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การเล่นน้ำอย่างมาก น้ำตกแห่งนี้ถือว่าเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงพระราชทานนามว่า “น้ำตกอนัมก๊ก” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองค์เชียงสือกษัตริย์ญวนที่เคยเข้ามาลี้ภัยจากการ จราจลในสมัยรัชกาลที่ 1ทางฝั่งตะวันตกของเกาะตั้งแต่อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ แหลมหินดำ หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ แหลมบางเบ้า หาดอ่าวพร้าว ไปจนสุดปลายแหลมเทียน และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันออกที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่าวสับปะรด แหลมศาลา อ่าวยายเกิด อ่าวคลองหิน อ่าวจาก ล้วนแต่เป็นหาดที่มีหาดทรายสวยงาม และน้ำทะเลใส มีธรรมชาติสงบเงียบ ร่มรื่นด้วยทิวมะพร้าวริมหาด นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ แนวปะการังนานาชนิดและปลาทะเลสีสันสวยงาม ในบริเวณทะเลด้านในของตัวเกาะรวมทั้งเกาะแรด และเกาะไม้ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะกูดชนพื้นถิ่นดั้งเดิมของเกาะกูดส่วนใหญ่เป็นคนไทย และคนเขมรในเกาะกงที่อพยพเข้ามาเมื่อเมืองปัจจันตคีรีเขตรตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2447 หมู่บ้านคลองมาดเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุด ปัจจุบันชาวเกาะยังดำรงชีพด้วยเกษตรกรรม ทั้งทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้เพียงเล็กน้อย และทำประมงชายฝั่ง บนเกาะมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย







การเดินทางไปเกาะกูด มีเรือโดยสารประจำทางไว้บริการนักท่องเที่ยว



(เรือไม้) เที่ยวไป เรือออกจากท่าเรือด่านเก่า เวลา 10.00 น. ถึงเกาะกูด ท่าเรือสะพานน้ำลึก เวลา 14.00 น. เที่ยวกลับ เรือออกจากเกาะกูดไปท่าเรือด่านเก่า เวลา 10.00 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 200 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08 9069 1031, 08 9096 9005
(เรือเร็ว) เที่ยวไป มีเรือออกจากท่าเรือแหลมศอกไปเกาะกูด (เรือจอดที่ท่าเรือบางเบ้า) ทุกวัน วันละ 1 เที่ยว เวลา 13.00 น. เที่ยวกลับ เรือออกจากเกาะกูดไปท่าเรือแหลมศอก เวลา 10.00 น.อัตราค่าโดยสารคนละ 550 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08 6126 7860



(เรือเฟอร์รี่) เที่ยวไป มีเรือออกจากท่าเรือด่านเก่า (ท่าโชคสาคร) วันละ 1 เที่ยว เวลา 8.00-10.30 น. เที่ยวไป มีเรือออกจากเกาะกูก เวลา 11.00 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 400 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 08 6126 7860 หรือนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเรือโดยสารของ บริษัท เกาะกูด ซีทรานส์ จำกัด โทร. 0 3959 7646,08 1444 9259 อัตราค่าโดยสารไป-กลับ คนละ 700 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที มีเรือออกจากท่าเรือแหลมงอบ (ท่าเทียบเรือกระโจมไฟ) วันอังคาร วันศุกร์และวันเสาร์ เวลา 09.00 น. ถึงเกาะกูดเวลา 11.30 น.





หาดลานทราย ( ตราด ) ชายหาดและอ่าว
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีบรรยากาศที่เงียบสงบนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนกัน





หมู่เกาะระยั้ง ( ตราด ) หมู่เกาะ
ประกอบด้วยเกาะระยั้งในและเกาะระยั้งนอกสภาพโดยทั่ว ๆ ไปของเกาะระยั้งนอกเป็นเกาะที่เงียบสงบหาดทรายขาวน้ำใสสะอาด





เกาะกระดาด ( ตราด ) หมู่เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะหมากมีพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ใช้เวลาเดินทางจากแหลมงอบประมาณ 2-3 ชั่วโมง




เกาะขาม ( ตราด ) หมู่เกาะ
เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับเกาะหมากใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงมีสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเกาะขามมากมาย



เกาะหมาก ( ตราด ) หมู่เกาะ
เป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูดห่างจากฝั่งประมาณ 38 นาที




แหลมงอบ

อยู่ห่างจากจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 3148 ประมาณ 17 กม. มีท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 500 เมตร สามารถเช่าเรือไปเที่ยวเกาะต่างๆ ได้เช่น เกาะช้างเกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังสามารถหาซื้อของที่ระลึกจำพวก กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง และงอบแบบต่างๆ ได้จากร้านค้าทั่วไปในเขตอำเภอแหลมงอบ และที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องถ่ายรูป คู่กับแผ่นป้าย " สุดแผ่นดินตะวันออก " ไว้เป็นที่ระลึกครับ















อ่าวตาลคู่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกเข้าเกาะปุยประมาณ 5 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กม. ชายหาดอ่าวตาลคู่เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน เพราะมีความสวยงามและอากาศดี ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด มีร้านจำหน่ายอาหาร






























บ้านน้ำเชี่ยว
อยู่ห่างจากตัวเมืองไปตามทางสายตราด-แหลมงอบ ประมาณ 8 กม. มีชื่อเสียงในการทำงอบซึ่งเรียกว่า "งอบน้ำเชี่ยว" อันเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของจังหวัดตราด ที่สืบทอดมาแต่โบราณนอกจากงอบแล้ว บ้านน้ำเชี่ยวยังมีผลิตผลจากการประมง เช่น กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง ฯลฯ ไว้จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย






เกาะปุย
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน ซึ่งแวดล้อมด้วยธรรมชาติงดงาม บรรยากาศร่มรื่นเป็นอิสระอยู่ใกล้ฝั่ง การเดินทางสะดวกปลอดภัยทุกฤดูกาลที่เกาะปุยประกอบด้วยเนินเขามีสวนมะพร้าว สมุนไพรนานาชนิดและบ่อดินสอพองที่ได้รับการกล่าวถึงเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสตราด หาดที่เกาะปุยมีลักษณะเลนปนทราย จึงไม่เหมาะสำหรับว่ายน้ำแต่เหมาะสำหรับผู้ที่รักสงบและต้องการพักผ่อนเงียบๆ
การเดินทางไปเกาะปุยควรไปเช่าเรือจาก แหลมงอบ หากมีรถเองควรไปขึ้นเรือที่แหลมอวน โดยใช้เส้นทางตราด-แหลมงอบ 15 กม. จะมีปั๊มน้ำมัน ปตท. อยู่ทางขวามือแล้วมีทางแยกเข้าทางลูกรังประมาณ 5 กม. มีป้ายบอกชื่อ แหลมอวนอยู่ทางซ้ายเข้าไป 500 เมตรสามารถหาเรือข้ามฟากไปยังเกาะปุยและมีบริการรับฝากรถ ค่าเช่าเรือไป-กลับ แหลมอวน-เกาะปุย เหมาลำประมาณ 200-300 บาท ใช้เวลาเดินทางเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น


















ตลาดชายแดน บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่

ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก ตั้งอยู่บ้านหาดเล็ก เป็นหมู่บ้านสุดชายแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา อยู่ปลายทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 318 เมื่อสงครามในกัมพูชาสิ้นสุดลงราวปี พ.ศ.2529 ตลาดแห่งนี้นับเป็นแหล่งรับซื้อพืชพันธุ์ธัญญาหารของชาวกัมพูชาเพื่อไปขายต่อที่เกาะกง และยังมีสินค้าราคาถูกมาจากประเทศกัมพูชามาจำหน่าย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แว่นตา น้ำหอม เป็นต้น จากจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถ แท๊กซี่จากชายแดนบริเวณบ้านหาดเล็กฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อที่จะไปเกาะกงได้ อัตราค่าบริการโดยสารแล้วแต่จะตกลงกัน
การเดินทาง ไปบ้านหาดเล็กมีรถตู้บริการนักท่องเที่ยวที่ตัวเมืองตราดไปหาดเล็กทุกวัน รถออกทุกๆชั่วโมง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง และจากบริการแท๊กซี่บ้านหาดเล็กใช้เวลาในการเดินทางไปเกาะกง ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที สำหรับประชาชน ชาวไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ของ อำเภอคลองใหญ่ สามารถทำบัตรผ่านแดนชั่วคราวได้ที่ ที่ว่าการอำเภอคลองใหญ่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 039-534572 หรือที่ สำนักงานจังหวัดตราด ฝ่ายข้อมูล โทร. 039-512081




ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่งในจัวหวัดตราด เดี๋ยวมาเพิ่มเติมข้อมูลให้ครับ

ที่มาบทความ http://thai.tourismthailand.org/where-to-go/cities-guide/destination/trat/





แนะนำแหล่งท่องเที่ยวมืองไทยครับ เริ่มที่จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกก่อนครับ


จังหวัดตราด


เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา



ตราดเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เพราะเป็นที่ตั้งของเกาะที่สวยงามจำนวนมาก จนได้ชื่อว่าเป็น “เมืองเกาะครึ่งร้อย” โดยมีเกาะที่สำคัญที่สุดคือเกาะช้าง ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากเกาะภูเก็ตนอกจากนี้ จังหวัดตราดยังมีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมทางถนนที่สะดวกสบาย และมีสนามบินที่มีเที่ยวบินพาณิชย์ขึ้น-ลงเป็นประจำทุกวัน ทำให้เมืองแห่งนี้มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวสูง พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญยิ่งขึ้นต่อไป
ชื่อเมืองตราดนั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “ กราด ” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำไม้กวาด ที่ในอดีตมีขึ้นอยู่รอบเมืองเป็นจำนวนมาก แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมืองตราดก็มีอีกชื่อหนึ่งว่า “บ้านบางพระ” รวมทั้งมีการเรียกกันอีกชื่อว่า “เมืองทุ่งใหญ่” ดังปรากฏในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททองว่าเป็นหัวเมืองชายทะเลสังกัดฝ่ายการต่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง เนื่องจากในสมัยนั้น ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเลที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเลของเมืองตราดจึงมีชุมชนพ่อค้าชาวจีนตั้งอยู่ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา

ตราดมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาค ได้ส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศหลายอย่าง โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่างๆ ซึ่งล้วนหามาได้จากเขตป่าชายฝั่งทะเลในแถบนี้ทั้งสิ้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในขณะดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ หรือพระยาตาก ได้นำกำลังพลตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาในสงครามเสียกรุงครั้งสุดท้ายมาทางทิศตะวันออก ได้ทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารให้เมืองจันทบุรี อันเป็นเมืองที่ตั้งของกองกำลังกอบกู้เอกราช ก่อนเคลื่อนกองทัพออกทำสงครามกู้เอกราชจนสำเร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาเวียงจันทน์หันไปสวามิภักดิ์กับญวน ไทยกับญวนจึงทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 โดยมีเมืองตราดเป็นแหล่งกำลังพลและเสบียงอาหาร มีการตั้งป้อมค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตราด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดเมืองจันทบุรีในปี พ.ศ. 2436 และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดและเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้งเมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถทางการปกครองและการทูตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญายกเมืองตราด เมืองด่านซ้าย (อยู่ในเขตจังหวัดเลย) และเกาะต่างๆ ตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดคืนให้แก่ไทย โดยแลกกับดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ โดยทำสัญญากันในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ฝ่ายไทยมีพระยามหาอำมาตยาธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพ ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส ได้กระทำพิธีส่งและรับมอบดินแดนกัน ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกไปในเวลาต่อมา

ปัจจุบันชาวเมืองตราดได้ถือเอาวันที่ 23 มีนาคม ของทุกปีเป็นวัน "ตราดรำลึก"ต่อมาวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 ในช่วงระหว่างสงครามอินโดจีน เรือรบฝรั่งเศสได้ล่วงล้ำน่านน้ำไทยในเขตจังหวัดตราด กองเรือรบราชนาวีไทยจึงได้เข้าขัดขวาง จนเกิดการยิงต่อสู้กันซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "ยุทธนาวีที่เกาะช้าง" ครั้งนั้นฝ่ายไทยสามารถขับไล่ข้าศึกให้ล่าถอยไป และรักษาเมืองยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ไว้ได้ แต่ก็ต้องสูญเสียเรือรบหลวงไปถึง 3 ลำ คือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรี รวมทั้งชีวิตทหารอีกจำนวนหนึ่งปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ในกัมพูชา ทำให้มีชาวเขมรจำนวนนับแสนหนีตายเข้ามาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เส้นทางหลวงหมายเลข 318 ที่เริ่มจากตัวเมืองตราดเลียบขนานเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่ กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ และเมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณตลาดหาดเล็กที่สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกงปัจจุบันจังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองตราด อำเภอคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง ฯลฯ